เชื่อว่านศภ. (นักศึกษาเภสัช) หลายๆคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ปีที่ 5 หรือปีที่ 6 ที่กำลังฝึกงานอยู่ ใกล้จะจบการศึกษาแล้ว กำลังตัดสินใจอยู่ว่าหลังเรียบจบป.ตรี จะทำงาน หรือ เรียนต่อดี แล้วถ้าเรียนต่อ จะเรียนต่ออะไรดี มีหลักสูตรหรือสาขาอะไรให้เลือกบ้างในสายบริบาลเภสัช
โพสนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าหนึ่งในตัวเลือกนั้น ก็คือ หลักสูตรการเรียนเป็นเภสัชกรประจำบ้านว่าเป็นยังไง คืออะไร มีเพื่ออะไร เรียนอะไรบ้าง เรียนจบแล้วจะไปเป็นอะไรดีให้ฟังกัน
เภสัชกรประจำบ้าน หรือ Pharmacy Residency เป็นหลักสูตรของ วิทยาลัยเภสัชบำบัด หรือ The Colledge of Pharmacotherapy of Thailand ชื่อหลักสูตรเต็มๆคือ หลักสูตรการอบรมเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด พูดง่ายๆก็คือเรียน(แบบปฏิบัติ) เพื่อจบไปเป็นเภสัชคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องยาสุดดดด ๆ ในด้านต่างๆ อ้างอิงจาก คู่มือการฝึกอบรม ปีพ.ศ. 2561 ได้แก่
- เป็นนักสืบก็คือ หาปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา หรือหา DRPs (Drug related problems) นั่งเอง ไม่ว่าจะเป็นยังไม่เกิดหรือมีแนวโน้มว่าจะเกิดแต่เภสัขกร สามารถดักจับได้ก่อนที่การรักษานั้นจะไปถึงคนไข้ เช่น …. หรือมีแนวโน้มว่าจะเกิด เช่น ยาตัวนี้หากรับประทานก่อนอาหารจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียนมาก แนะนำให้รับประทานหลังอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงนั้น ทำให้คนไข้ให้ความร่วมมือในการใช้ยามากขึ้น รวมถึง DRP ที่เกิดแล้ว แต่เภสัชกรสามารถให้คำแนะนำแก่บุคลากรทางการแพทย์ทำให้ DRP นั้นๆมีความรุนแรงลดลงได้
- รับบทนางสอน นาง educate สามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลด้านยา แนะนำตัวเลือกของการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม … เลยต้องเรียนทำตาราง IESAC ไง
- ทำงานวิจัยได้ เมื่อฝึกปฏิบัติมากๆเจอเคสผู้ป่วยเยอะๆ สงสัยเรื่องการรักษา ก็สามารถตั้งคำถามงานวิจัย สร้างสมมุติฐานและออกแบบงานวิจัยได้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในอนาคต
- จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จริยธรรมและคุณธรรม การฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วยนอกจากประเมิณคนไข้แล้ว จะต้องมีการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอีกด้วย
เรียบจบจะได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด (Board Certified Pharmacotherapy) หรือ ว.ภ.(เภสัชบำบัด) (BCP) ซึ่งเทียบเท่ากับ Board Certified in Pharmacotherapy Specialists ของระบบในอเมริกา อีกทั้งยังเทียบเท่า “ปริญญาเอก” อีกด้วย
ระยะเวลาเรียนแบบเป็นทางการคือ 4 ปี แต่ละปีจะมีวิชาให้เรียน แบ่งเป็นภาคทฤษฎีกับปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะเป็นภาคปฏิบัติซะมากกว่า
- Research Methodology & Biostatistics for pharmacy resident
- Communication Skills in Pharmaceutical Care
- Systematic Approach & Clinical Skills in Pharmaceutical Care
- Residency in pharmacotherapy training
4 วิชาข้างบนจะเป็นวิชาภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกบนหอผู้ป่วยต่างๆ เช่น อายุรกรรม , ICU, CCU เป็นต้น เราจะต้องทำหน้าที่เป็นเภสัชกรคลินิกประจำหอผู้ป่วยนั้นๆ หน้าที่ หรือ Ward work ก็จะมีตั้งแต่
- Medication reconsilations เรียกสั้นๆ ก็คือทำ MR นั่นเอง
- Prescription review
- TDM (Therapeutic drug monitoring)
- Monitor ADRs
- ให้คำแนะนำด้านยา
- Current Topics in Pharmacotherapy 1 และ 2 วิชานี้แล้วแต่มหาลัยว่าจะสอนหรือให้นำเสนอ Topic review โรคต่างๆเอง
- Specialized residency in pharmacotherapy training จะเริ่มตั้งแต่ปี 2 ที่จะเข้าสาขาที่สนใจ มีตั้งแต่ Internal medicine เรียนทุกอย่าง เหมาะกับการเป็นเภสัชกรประจำหอผู้ป่วย , Infectious , Nephrology, Neurological, Cardiology, Oncology , Critical care, Pediatrics, Clinical nutrition หรือ Clinical Pharmacokinetics และอื่นๆ
- Research Fellowship (วิจัยปฏิบัติการ) อันนี้เป็นของปี 4 เป็นปีที่เน้นการทำงานวิจัย
หากสนใจ Specialized residency สาขาไหน ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือกมหาลัยที่จะเรียน อย่าลืมเช็คด้วยว่า มหาลัยนั้นเปิดสอนสาขาที่เราสนใจจะเรียนหรือไม่
หากเลือกได้แล้วต่อไปก็จะเป็นการสมัครสอบซึ่งจะมีปีละ 2–3 รอบ แล้วแต่ปีการศึกษา สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์วิทยาลัยเภสัชบำบัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น